วัดปุญญานิวาส
ประตูโขงศิลปกรรมช่างญวน แหล่งรวมเครื่องใช้โบราณอีสาน
วัดปุญญานิวาส หรือวัดบ้านเป้า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางห่างจากโรงเรียน 3 กม. ใช้เวลาเดินทางเพียง 5 นาที เสนาสนะที่สำคัญน่าศึกษาเรียนรู้ ได้แก่ ประตูก่ออิฐถือปูนทางเข้าวัดด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ ศิลปะงานช่างแบบญวน พระเจ้าใหญ่โพธิ์ศรี พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นลงรักปิดทอง มีลักษณะโดดเด่น คือ นั่งขัดสมาธิในลักษณะขาซ้ายทับขาขวา ซึ่งโดยทั่วไปจะให้ขาขวาทับขาซ้าย อายุกว่า 100 ปี มีพระครูไพโรจน์บุญญากร เป็นเจ้าอาวาส ท่านมีความรักความชอบในศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นอย่างมาก จึงได้สะสมสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนอีสานไว้อย่างมากมาย เช่น ผ้าทอ เครื่องมือทอผ้า ขันหมาก เชี่ยนหมาก พาน กระเช้าน้ำ ขันปากหนาม โฮงฮด หีบใส่เสื้อผ้า (อูบ) เกวียน เป็นต้น
ประวัติวัดปุญญานิวาส อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติวัดปุญญานิวาส ตามที่มีการบันทึกไว้ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2305 เดิมมีชื่อว่า วัดศรีโพธิ์ไทร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2531 ลําดับเจ้าอาวาสอดีตถึงปัจจุบัน รูปที่ 1 พระแมง รูปที่ 2 พระแก้ว รูปที่ 3 พระจันทร์ รูปที่ 4 พระเสาร์ รูปที่ 5 พระถ้ำ รูปที่ 6 พระคํา รูปที่ 7 พระขีด รูปที่ 8 พระพุธ รูปที่ 9 พระอ่อน รูปที่ 10 พระหยุย รูปที่ 11 พระอธิการพิน ยโสธโร ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2538-2547 รูปที่ 12 พระครูไพโรจน์บุญญากร ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2547
อุโบสถและศาลาการเปรียญวัดปุญญานิวาส
ศาลปู่ตา วัดปุญญานิวาส
ผ้าไหมขิดโบราณ
พระเจ้าใหญ่โพธิ์ศรี พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นลงรักปิดทอง มีลักษณะโดดเด่น คือ นั่งขัดสมาธิในลักษณะขาซ้ายทับขาขวา ซึ่งโดยทั่วไปจะให้ขาขวาทับขาซ้าย อายุกว่า 100 ปี เขียนไว้ว่าสร้างโดยเขยนาสะไม
สิ่งของเครื่องใช้ของสะสมเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมอีสาน วัดปุญญานิวาส
ประตูทางเข้าวัดด้านทิศตะวันออก และทิศใต้ สร้างในปี 2496 แบบก่ออิฐถือปูน ศิลปะงานช่างแบบญวน ปัจจุบันมีการบูรณะและทาสีใหม่
สิ่งของเครื่องใช้ของสะสมเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมอีสาน วัดปุญญานิวาส
ประตูทางเข้าวัดปุญญานิวาส ศิลปะช่างญวน