วัดธัมมปติฏฐาราม

วัดธัมมปติฏฐาราม หรือวัดบ้านหนองเต่า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางห่างจากโรงเรียน 8.5 กม. ใช้เวลาเดินทางเพียง 10 นาที  ภายในวัดมีอุโบสถหลังเก่าอายุกว่า 75 ปี ก่อสร้างด้วยอิฐ หลังคาทรงจั่ว มีช่อฟ้า ประตูทางขึ้น 1 ช่อง หน้าต่างที่สามารถเปิดได้ 4 ช่อง และหน้าต่างทึบ 2 ช่อง บันไดทางขึ้นปั้นเป็นพญานาคที่ราวบันได หน้าบันและซุ้มระเบียงมีปูนปั้นลวดลายลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและญวน ภายในเป็นที่บรรจุอัฐบูรพาจารย์ ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และพระอุปคุตเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ และมีหลวงพ่อสำเร็จเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อสำริด ขนานนามตามความสำเร็จในการร่วมแรงร่วมในจากคณะสงฆ์และญาติโยมสร้างอุโบสถได้สำเร็จตามความปรารถนาและมีคุณลักษณะพิเศษอีกคือเมื่อญาติโยมจะไปสอบบรรจุเข้าเรียนหรือเข้ารับราชการ เข้ารับการเลือกตั้ง ทำมาค้าขาย ไปหากินอยู่ต่างถิ่นฐาน เดินทางขึ้นรถ ลงเรือไปเหนือล่องใต้ให้เดินทางปลอดภัย มากราบขอพรก็จักได้ผลสำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ และมีประติมากรรมพ่อเคน ดาหลา หมอลำศิลปินแห่งชาติที่มีบ้านเกิดอยู่ที่บ้านหนองเต่า

ประวัติวัดธัมมปติฏฐาราม หรือวัดบ้านหนองเต่า

ประวัติวัดธัมมปติฏฐาราม หรือวัดบ้านหนองเต่า ตามที่มีการบันทึกไว้นั้น เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2409 เดิมชื่อวัดศรีโพธิ์ชัย โดยมีพระพรหม โสภา เป็นผู้สร้าง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดธัมมปติฏฐาราม สมัย ซึ่งเป็นช่วงที่พระไข่ เป็นเจ้าอาวาสในลำดับที่ 7 วัดมีความเจริญมากถึงขั้นได้เปิดโรงเรียนพระปริยัติศึกษาแผนกธรรมขึ้น หลังจากนั้น เมื่อมีความเจริญก็ย่อมมีความเสื่อมถอย วัดธัมมปติฏฐารามก็ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา จนกระทั่งรักษาการเจ้าอาวาสลำดับที่ 11 คือ พระจันที ได้ริเริ่มจะสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรมลง แต่เมื่อเริ่มก่อสร้างพระจันทีก็ได้ออกธุดงค์ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ พระสุระสิทธิ์ ขนฺติโก ขึ้นเป็นรักษาการเจ้าอาวาส ใช้เวลาประมาณ 2 ปี อุโบสถจึงสำเร็จ นำความขึ้นกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ท่านทรงอนุโมทนาและอนุญาตให้สร้างพระพุทธรัตนญาณสิริสุวัฒโน เป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่ และยังเมตตาอนุญาตให้อัญเชิญพระนามย่อ ญสส. ประดิษฐานที่ฐานผ้าทิพย์และหน้าบันอุโบสถอีกด้วย อีกทั้งยังมีพระเมตตาเสด็จทอดผ้ากฐินและทำพิธีเปิดหน้าบันอุโบสถด้วยพระองค์เอง

ปัจจุบัน นอกจากอุโบสถแล้วทางวัดธัมมปติฏฐารามยังมี ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุที่สำคัญอีก คือ พระสถูปเจดีย์ศรีจตุโลกบาล ที่สร้างถวายท้าวจตุโลก และพระพุทธฑีปังกร สัมมาสัมพุทธเจ้าในอุโบสถ

 

อุโบสถสิมอายุกว่า 75 ปี วัดธัมมปติฏฐาราม

อุโบสถสิมหลังเก่าอายุกว่า 75 ปี ของวัดธัมมปติฏฐาราม ซึ่งพระครูตรีรัฐมณี เจ้าคณะแขวงเป็นผู้สั่งทำ โดยมีพระไข่ ร่วมด้วยภิกษุสามเณรและชาวบ้านร่วมกันสร้าง สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2483 โดยใช้งบประมาณก่อสร้างไป 419 บาท เมื่อเวลาผ่านไปอุโบสถมีความทรุดโทรมลง ในปี พ.ศ.2558 ชาวบ้านหนองเต่า บ้านดอนเจริญและคณะผ้าป่าสามัคคีได้งบประมาณมาบูรณะใหม่ โดยใช้งบประมาณทั้งหมด 500,999  บาท พระอุโบสถหลังนี้ ก่อสร้างด้วยอิฐ หลังคาทรงจั่ว มีช่อฟ้า ประตูทางขึ้น 1 ช่อง หน้าต่างที่สามารถเปิดได้ 4  ช่อง และหน้าต่างทึบ 2  ช่อง บันไดทางขึ้นปั้นเป็นพญานาคที่ราวบันได หน้าบันและซุ้มระเบียงมีปูนปั้นลวดลายลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและญวน ภายในเป็นที่บรรจุอัฐบูรพาจารย์ ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และพระอุปคุตเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ ยังความเป็นสิริมงคลให้ผู้ได้สักการะ ในปี 2559 วัดธัมมปติฏฐารามจะครบ 150 ปี คณะกรรมการวัดได้จัดงานเพื่อเฉลิมฉลองและฉลองสัญญาบัตรพัด ปัจจุบัน วัดนี้มีพระครูขันติปรีชากร (สุระสิทธิ์ ขนฺติโก ศรีสุข) เป็นเจ้าอาวาส

หลวงพ่อสำเร็จ วัดธัมมปติฏฐาราม

หลวงพ่อสำเร็จ ของวัดธัมมปติฏฐาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อสำริด ลักษณะสองถอด ฐานถอดชั้นล่าง ถอดชั้นออกจากชั้นบนได้ตลอดทั้งองค์ แกะลวดลายสกุลช่างได้อย่างละเอียดวิจิตร งดงามแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ซึ่งช่างได้ถอดองค์คุณลักษณะและหลักในพระพุทธศาสนาไว้อย่างสอดคล้องกัน ฐานล่างสุดวัดได้ 108 เซนติเมตร เป็นพุทธคุณทั้ง 108 ฐานล่างตรงกลางวัดได้ 45 เซนติเมตร เท่ากับอายุพรรษาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฐานด้านบน วัดได้ 80 เซนติเมตร เท่ากับอายุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้าตัก 30 นิ้ว เปรียบเหมือนการบำเพ็ญบารมี 30 ทิศ เมื่อทำการสร้างอุโบสถหลังใหม่เสร็จจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อสำเร็จขึ้นประดิษฐานในอุโบสถหลังใหม่

หลวงพ่อสำเร็จ ขนานนามตามความสำเร็จในการร่วมแรงร่วมในจากคณะสงฆ์และญาติโยมสร้างอุโบสถได้สำเร็จตามความปรารถนาและมีคุณลักษณะพิเศษอีกคือเมื่อญาติโยมจะไปสอบบรรจุเข้าเรียนหรือเข้ารับราชการ เข้ารับการเลือกตั้ง ทำมาค้าขาย ไปหากินอยู่ต่างถิ่นฐาน เดินทางขึ้นรถ ลงเรือไปเหนือล่องใต้ให้เดินทางปลอดภัย มากราบขอพรก็จักได้ผลสำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ และทางคณะกรรมการวัดมีมติในปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมาให้จัดงานสมโภช (พุทธาภิเษก) ปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองปิดทองขอพร “หลวงพ่อสำเร็จ” ในช่วงวันที่ 11-16 เมษายนของทุกปี

 

 

ประติมากรรมรูปหล่อนายเคน ดาหลา หมอลำศิลปินแห่งชาติ

ประติมากรรมรูปหล่อนี้สร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ นายเคน ดาเหลา ชาวตำบลหนองเต่า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ซึ่งมีความสามารถในการแสดงศิลปะลำกลอนเป็นเลิศ เป็นผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่สังคม ตลอดจนการถ่านทอดเพื่อสืบสานศิลปะการแสดงลำกลอนให้แก่เยาวชน จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จึงยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ.2534 ประติมากรรมนี้ได้ทำพิธีเปิดในวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2558

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ติดต่อเรา